ประโยชน์ของกล้วย


ทางด้านอาหาร เป็นไม้ผลนำมาบริโภค ใบนำมาห่อขนม หรือส่วนของลำต้น ใบนำมาทำกระทง ก้านนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ประโยชน์ทางสมุนไพร ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือ 1 ผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบหั่นเป็นแว่น ตากแห้งบดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลกล้วยสุกทุกชนิด และผลกล้วยห่าม โดยฝานตากแดด ให้แห้ง บดเป็นผง จะใช้กล้วยหักมุกห่ามแทนยิ่งดี
สรรพคุณ : ผลกล้วยมีสรรพคุณช่วยรักษาอาการผิดปกติของร่างกายหลายๆ อย่าง เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะความเป็นพิษภายในร่างกาย ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น และแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี และใช้ป้องกันบำบัด โรคแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษาอาการท้องเสีย

ขนาดและวิธีใช้ :
  • แก้อาการท้องเสีย ใช้ผลกล้วยห่าม 3-4 ช้อนชา หรือ 5-7 กรัม ผสมน้ำหรือน้ำผึ้ง 1-2 ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และ ก่อนนอน
  • รักษาความดันโลหิตสูง หรือโรคเส้นโลหิตในสมองแตก ใช้เปลือกกล้วยหอมสดมาต้มกับน้ำสำหรับดื่ม และสามารถที่ต้มไว้ดื่มเป็นประจำได้
  • โรคริดสีดวงทวาร แก้อาการท้องผูก เป็นไข้ตัวร้อนหรือเจ็บคอ โดยรับประทานกล้วยน้ำว้า วันละ 1-2 ผล เป็นประจำ
  • ลดอาการไข้และอาการไอเรื้อรังได้ ใช้กล้วยหอมสุกหรือกล้วยน้ำว้าสุกต้มกับน้ำตาลทราย แล้วรับประทานติดต่อกัน จนกว่าจะหาย
  • แก้ส้นเท้าแตก ใช้เปลือกหรือเนื้อกล้วยที่สุกงอม ทาตรงบริเวณที่แตก เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตรงส่วนนั้น

ข้อเสนอแนะ : รับประทานกล้วยดิบแล้ว ถ้ามีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ป้องกันโดยใช้กล้วยดิบร่วมกับขิงหรือกระวาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น